6 สัญญาณเตือน “กรดไหลย้อน”

1. ท้องอืด แน่นท้อง  จะมีอาการคล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาการนี้เกิดได้จากหูรูดของหลอดอาหารไม่สามารถปิดสนิทได้ เวลาที่ต้องมีการบีบตัวของหลอดอาหาร เพื่อที่จะไล่อาหารจากกระเพาะลงไปที่ลำไส้เล็ก ทำให้มีการท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหารทั้งบริเวณในช่องท้อง และช่องอก ทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง
2. เรอเปรี้ยว หรือมีน้ำรสเปรี้ยว ๆ หรือขมออกมาทางลำคอ มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ
3. กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บคอ  เกิดจากกรดไหลย้อนไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว
4. เจ็บหน้าอก จุกเหมือนมีอะไรติดคอ  เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหารที่อยู่ในช่องอก และกระตุ้นเส้นประสาทในหลอดอาหาร
5. แสบร้อนกลางอก  เกิดจากความดันที่ช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้กรดและอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งอาการแสบร้อนกลางอกจะส่งผลให้หลอดอาหารนั้นเกิดการระคายเคืองได้
6. คลื่นไส้ อาเจียน เกิดจากการไหลท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหาร มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ

       อย่างไรก็ตามสัญญาณเตือนทั้ง 6 ข้อนี้ เป็นเพียงระยะอาการของโรคกรดไหลย้อนในระยะต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น วิธีการดูแลเบื้องต้นคือ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะเขือเทศ พริกไทย หลีกเลี่ยงช็อกโกแลต อาหารมัน กาแฟ ชา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่น พยายามนั่งตัวตรง ๆ และลองหา สมุนไพรเพื่อเข้ามาช่วยฟื้นฟู บรรเทาอาการอย่าง ขมิ้นชัน ที่มีสารสำคัญ น้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminiods) สารสีเหลืองส้ม โดยมีการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ ขมิ้นชันในการบรรเทาอาการโรคในระบบทางเดินอาหารที่น่าใจหลายการศึกษา เช่น ฤทธิ์ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ การศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) พบว่า การรับประทานขมิ้นชันทั้งในรูปแบบของผงขมิ้นชัน ครั้งละ 500 มิลลิกรัม (มีเคอร์คูมินอยด์ 9.6% และน้ำมันหอมระเหย 8%) วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน หรือขมิ้นชันแคปซูล 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หรือสารสกัดขมิ้นชันวันละ 162 มิลลิกรัม นาน 28 วัน สามารถบรรเทาอาการของโรคอาหารไม่ย่อย ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ลดอาการคลื่นไส้ และไม่สบายท้อง โดยประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการได้รับยาขับลม และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร รานิทิดีน (ranitidine) 150 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยผ่านกลไกกระตุ้นการหลั่งเมือก หรือมิวซิน (mucin) มาเคลือบกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดและน้ำย่อยของกระเพาะ และต้านการอักเสบ โดยการศึกษาให้ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รับประทาน ขมิ้นชันแคปซูล 600 และ 1,000 มิลลิกรัม/วัน แบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน นาน 12 สัปดาห์ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาลดกรด และกลุ่มที่ได้รับ ขมิ้นชันที่แผลหายแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก และการรับประทานผงขมิ้นชันวันละ 1 กรัม หลังมื้ออาหารเช้าเย็น ร่วมกับการรับประทานยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) หรือยาเมซาลาซีน (mesalamine) ซึ่งใช้ใน การรักษาโรคลำไส้อักเสบ จะให้ผลการรักษาดีกว่าใช้ยาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว

 
แหล่งอ้างอิงโดย
1. บทความ : ขมิ้นชัน...ขุนพลผู้พิชิตโรคในระบบทางเดินอาหาร, กนกพร อะทะวงษา, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
2. บทความ : ดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะกรดไหลย้อน, อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)     


How to ดูแลสุขภาพในวิกฤต PM 2.5 ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร


        ในช่วงเวลานี้ไม่มีอะไรเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพได้เท่ากับมลพิษ PM 2.5 เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วแต่ผลกระทบไม่เล็กตามขนาดของมัน เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วนี้มีขนาดตัวเพียงแค่ 2.5 ไมครอน หรือเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผม ทำให้แม้กระทั่งขนจมูกของเราเองก็ไม่สามารถกรองเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วนี้ได้ และเมื่อเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมของสารอนุมูลอิสระ เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะแพร่กระจายสู่ระบบทางเดินหายใจ จากหลอดลมเข้าสู่หลอดเลือด จากนั้นก็จะถูกลำเลียงไปยังอวัยวะต่าง ๆ ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอักเสบภายในร่างกาย และเป็นบ่อเกิดสำคัญของสารพัดโรคร้าย

นอกจากนี้ทางกรมอนามัยโลก ได้ระบุไว้ว่า PM 2.5 เป็นสารกลุ่มที่ 1 ที่เป็นสารก่อมะเร็ง เป็น 1 ใน 8 ของสาเหตุที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และยังทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง อย่าง โรคหลอดเลือดสมอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง, โรคหัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็งปอด เป็นต้น นอกจากนี้ทางแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยยังได้ระบุว่า เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วที่มีขนาดเล็กนี้ ยังมีน้ำหนักที่เบาจนสามารถลอยตัวในอากาศได้ และยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังของเราได้โดยตรง และยังมีงานวิจัยถึงผลกระทบของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้พบว่า เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วสามารถส่งผลต่อผิวหนังโดยสามารถแบ่งระดับอาการออกได้ 2 ระยะคือ

1. ระยะเฉียบพลัน เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นกำพร้า ทำให้เกิดการอักเสบ และระคายเคืองกับผิวหนังได้โดยตรง
2. ระยะเรื้อรัง เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วเป็นอนุมูลอิสระที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ผิวหนัง ตั้งแต่กระบวนการสร้างเซลล์ ทำให้เซลล์ผิวเกิดภาวะความชรา จุดด่างดำ และลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังอีกด้วย

      ด้วยเหตุนี้การป้องกันภัยจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในตอนนี้ โดยมีเคล็ดลับการดูแลสุขภาพง่าย ๆ คือ พยายามอยู่ภายในอาคาร พร้อมเสริมด้วยเครื่องกรองอากาศมาเป็นตัวช่วยในการดักเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกนอกบ้าน ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรทาโลชั่นหรือครีม ใส่หน้ากากกรองฝุ่น สวมแว่นตา แต่งกายให้มิดชิด และงดการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อลดการรับเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยอีกว่า มีสารอาหารบางชนิดมีคุณสมบัติที่ช่วยต้านและลดความเป็นพิษของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้ได้ ได้แก่

1. โค เอนไซน์ คิว 10 เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญในการสร้างพลังงานพื้นฐานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antiox idant) ที่มีประสิทธิภาพสูง คอยป้องกันสารอนุมูลอิสระที่จะเข้ามาภายในเซลล์ที่เป็นสาเหตุของโรคภัยต่าง ๆ
2. วิตามิน C เป็นวิตามินที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และลดภาวะอาการอักเสบที่อาจเกิดจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว ดังนั้นแนะนำให้หาอาหารเสริมที่ให้ทั้งวิตามิน C และสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง และยังมี OPC ที่สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามิน C ถึง 20 เท่าและสูงกว่าวิตามิน E 50 เท่า
3. เบต้า แคโรทีน มีส่วนช่วยให้การทำงานของปอดกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ที่ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสามารถพบได้ในสารสกัดจากมะเขือเทศนั่นเอง
4. โอเมก้า 3 จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกในกลุ่มผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่อาศัยในแหล่งที่มีเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 พบว่า การได้รับน้ำมันปลา 2 กรัม/วัน ช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5ได้ ดังนั้นนอกจากการรับประทานปลาทะเล หรือปลาน้ำจืดแล้ว ลองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีคุณภาพมาเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤติของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้

     ถึงแม้ว่าตอนนี้การศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารกับเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 ยังไม่ได้มีจำนวนที่มากพอ แต่ก็ยังมีอีกหลายงานวิจัยที่กล่าวถึงสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันและเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้กลับมามีประสิทธิภาพ อย่างน้อยก็ทำให้ภายในร่างกายมีความสมดุลแข็งแรงมากเพียงพอ และพร้อมที่จะรับมือต่อภัยเงียบจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วอย่าง PM 2.5 นี้ได้

แหล่งอ้างอิงโดย
1. บทความวิชาการ, “ฝุ่น PM 2.5 กับโรคสมอง”, เรืออากาศโท นายแพทย์กีรติกร ว่องไววาณิชย์, อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท, ศูนย์สมองและระบบประสาท, โรงพยาบาลกรุงเทพ
2. บทความสุขภาพน่ารู้, “ฝุ่น PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง”, แพทย์หญิงจันทร์จิรา สวัสดิพงษ์, ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการประชาสัมพันธ์องค์กร, สถาบันโรคผิวหนัง, กรมการแพทย์
3. ฝุ่นพิษ PM 2.5 เยียวยาด้วยอาหารรักษ์หัวใจ, ผศ.ดร ฉัตรนภา หัตถโกศล, ภาควิชาโภชนวิทยา, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)    
เคล็ดลับเพิ่มพลังสมอง


     จากภาวะทางสังคมที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ปัจจัยมากมายรอบตัวที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต จึงส่งผลให้เกิดความเครียด แต่เมื่อชีวิตเรายังคงต้องดำเนินต่อไปในทุก ๆ วัน ทำให้เกิดเป็นความเครียดสะสมขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลให้ “สมองล้า” (Brain fog syndrome) การทำงานของสมองในส่วนของความจำก็จะทำงานลดลง เริ่มมีอาการ เบลอ ๆ รู้สึกไม่สดชื่น มึนหัว พอหนักขึ้นก็เริ่ม นอนไม่หลับ ปวดหัวบ่อยขึ้นและเรื้อรัง สายตาพร่ามัว ความจำระยะสั้นแย่ลง ขี้หลงขี้ลืม และหงุดหงิดง่ายขึ้น หากยังปล่อยไว้ไม่ได้รักษาก็จะเสี่ยงที่จะเกิดโรคความจำเสื่อมก่อนวัย โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสันได้

     อาการ “สมองล้า” เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นกับสมอง มีผลมาจากความเครียดที่สะสมจากการใช้งานสมองอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอย่าง การพักผ่อนน้อย การนอนดึก การทำงานโต้รุ่ง การเร่งทำงานให้เสร็จทันเวลา หรือแม้กระทั่งการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งกระตุ้นให้สารเคมีในสมอง หรือที่เรียกว่าสารสื่อประสาท ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาททำงานลดลงและเสียสมดุล สมองจึงทำงานได้น้อยลงและเกิดเป็นอาการต่างตามที่กล่าวข้างต้น วันนี้เราจึงมาแนะนำตัวช่วยดี ๆ จากธรรมชาติ ที่ปลอดภัยกับร่างกายมาเป็นตัวเสริม และเพิ่มพลังสมองอย่าง “แปะก๊วย” มาฝาก




     “แปะก๊วย” (Ginkgo biloba L.) หรือ “สารสกัดจากใบแปะก๊วย” พืชใบสีเขียวที่มีสรรพคุณมากมายหลายด้าน มีสารสำคัญหลักอย่าง สารเทอร์พีนอยด์ (Terpinoidal compounds) ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (Bilobalide) ไดเทอร์ปีนแลคโตน 5 ชนิด ที่รวมตัวกันเรียก กิงโกไลต์ (Ginkgolides) และสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) จึงทำให้สารสกัดจากใบแปะก๊วย มีคุณสมบัติสำคัญมากมายที่ไม่ใช่แค่เพียงเพิ่มพลังและบำรุงสมอง แต่ยังสามารถช่วยฟื้นฟูระบบภายในของร่างกายให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนได้รับการยอมรับและในบางประเทศมีการประกาศให้แปะก๊วยเป็นตัวยาที่แพทย์แผนปัจจุบันมีการสั่งจ่ายในการรักษา อีกทั้งยังมีศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบแปะก๊วยถึงผลในการรักษามากมาย อย่าง

- ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity) ที่มีการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบแปะก๊วย พบว่า สามารถช่วยลดปริมาณการผลิตอนุมูลอิสระ ป้องกัน LDL จากภาวะเครียด ป้องกันเม็ดเลือดแดงจาก EGB-761 สารที่ทำลายเซลล์ประสาท และยังป้องกันจอตา (Retina) จากความเสื่อมของเซลล์ประสาท   

- ฤทธิ์การไหลเวียนของโลหิตไปยังสมอง (Cerebral blood flow increase) จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ได้รับสารสกัดใบแปะก๊วยขนาด 120-300 มิลลิกรัม/คน/วัน เป็นเวลา 4-12 สัปดาห์ มีผลเพิ่มปริมาณโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากโลหิตไปเลี้ยงสองไม่เพียงพอดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ และหลังจากรับประทานต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ อาการดีขึ้นชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และจากการศึกษากับกลุ่มผู้ป่วยโลหิตไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จำนวน 90 คน โดยให้รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยขนาด 150 มิลลิกรัม/วัน  เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ผู้ป่วยมีความจำดีขึ้น ระยะเวลาของความตั้งใจใจการทำงานเพิ่มขึ้น ความสามารถในการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องใช้การปรับตัว และการตัดสินใจที่รวดเร็วดีขึ้น

- ฤทธิ์ที่ช่วยให้ความจำดีขึ้น (Memory enhancement effect) โดยการศึกษาฤทธิ์ที่ช่วยให้ความจำดีขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ 18 คน ที่มีภาวะความจำเสื่อมจากความชรา พบว่า เมื่อผู้ป่วยรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยขนาด 320 มิลลิกรัม/คน สามารถช่วยให้ความจำของผู้ป่วยดีขึ้น
            นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต การศึกษาฤทธิ์ในการเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการศึกษาฤทธิ์เพิ่มการมองเห็น ฯลฯ มีผลไปในทิศทางเดียวกัน คือมีผลดีขึ้นเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งสารสกัดจากใบแปะก๊วยยังมีสารสำคัญอย่าง เอเชียติโคไซค์ (Asiaticoside) เอเชียติคแอซิค (Aisatic Acid) และบลามิโนไซด์ (Brahimnoside) ที่ช่วยเข้าไปยับยั้งการสร้างสารที่ทำลายเซลล์สมอง ลดความเครียดของสมองจากการทำงานหนัก และช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของกำลังสมองอีกด้วย

     การดูแลรักษาฟื้นฟูสมองด้วยการปรับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจยังไม่เพียงพอต่อการรักษาฟื้นฟู เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ ภายนอกไม่ว่าจะเป็น คลื่นแม่เหล็กจาก คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ที่เข้าไปรบกวนสารสื่อประสาท ความเครียดที่เกิดโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว การนอนดึก การนอนไม่เพียงพอ การที่ขาดการออกกำลังกาย ที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง การที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และการที่ร่างกายได้รับสารพิษจากมลภวะ สารเคมีจากอาหาร หรือสิ่งปนเปื้อนที่ปนมากับอากาศ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบที่มีผลต่อสมองที่ยากจะหลีกเลี่ยง ได้การเพิ่มตัวช่วยเข้ามาช่วยเพิ่มพลังสมองจึงสำคัญอย่างมากเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว 


แหล่งอ้างอิงโดย
1. บทความวิชาการ, “แปะก๊วย” สมุนไพรรักษาความจำเสื่อม, พิชานันท์ ลีแก้ว, ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. บทความสุขภาพน่ารู้, แปะก๊วยช่วยยับยั้งความเสื่อมของสมองและต้านอนุมูลอิสระ, ภก.สุดเหมือนฝัน ธนธัญญา, นิตรยาสารหมอชาวบ้าน เล่ม304
3. รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3, บทที่ 56 รายละเอียดข้อมูลยาทางชีวภาพแปะก๊วย (Ginkgo), โครงการเพิ่มศักยภาพฐานข้อมูลอุตสาหกรรมยาทางชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
4. บทความผลงานทางวิชาการ, Ginkgo Biloba, ภก.พีรวัฒน์ จินาทองไทย, ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ, คณะเภสัชศาสตร์, ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)   






Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy