5316 จำนวนผู้เข้าชม |
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Click
สวัสดีค่ะทุกคนกลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ จากช่วงสาระน่ารู้กับคุณหมอพลอยใส วันนี้พลอยก็ได้นำสาระน่ารู้ดีๆมาฝากกันอีกเช่นเคย สำหรับเรื่องราวดีๆ ที่นำมาฝากในวันนี้ ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับใบแปะก๊วย เชื่อว่าหลายๆคน น่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว งั้นเรามาทำความรู้จักกันดีกว่า ว่าเจ้าใบแปะก๊วยมีคุณสมบัติเกี่ยวกับด้านใดบ้างค่ะ
แปะก๊วยมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชต้นไม้ ที่มีการถูกนำมาใช้เป็นยา ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยลักษณะใบจะมีลักษณะคล้ายกับพัด และมีผลเป็นคนเม็ดเล็กๆ กลมๆ มีสีเหลืองทอง โดยใบจะมีสารสำคัญอยู่ 2 กลุ่มด้วยกัน
- กลุ่มแรก เป็นสารสำคัญในกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ สามารถแยกสารสำคัญมาได้อีก 5 ชนิดด้วยกัน โดยเรียกรวมๆ ของสารสำคัญทั้ง 5 ชนิดนี้ว่า กิงโกไลต์
- กลุ่มที่ 2 เป็นสารสำคัญในของกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) (เป็นสารประกอบฟีนอลที่ละลายน้ำได้ กลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น flavonol, flavonone, flavone, isoflavone, flavonol catechin และ anthocyanins เป็นต้น)
ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ นำใบแปะก๊วย มาทำการสกัดและพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ฟื้นฟูร่างกายของเราในด้านต่างๆนั้นเอง สำหรับตัวอย่างของคุณสมบัติจากสารสกัดแปะก๊วย ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
- ข้อแรก ด้านการต้านอนุมูลอิสระโดยมีการศึกษา ว่าสารสำคัญอย่างกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่พบในใบแปะก๊วยมากที่สุด สามารถที่จะช่วยป้องกัน คอเลสเตอรอล และช่วยป้องกันจอตาได้
- ข้อที่ 2 ด้านการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด โดยสารสำคัญที่เข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมากในข้อนี้ คือสารสำคัญอย่างกิงโกะไลต์ ที่มีสารสกัดอยู่ในแปะก๊วย แต่การศึกษาบอกไว้ว่า กิงโกะไลต์ จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการยับยั้งสารที่มีหน้าที่ในการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และการเกิดลิ่มเลือดจากการที่ร่างกายมีอาการบวมหรือว่าแพ้
- ข้อที่ 3 ด้านการเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังสมอง โดยจากการศึกษาการรับประทานสารสกัดแปะก๊วยในปริมาณ 120-300 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน เป็นระยะเวลา 4 - 12 สัปดาห์ พบว่ามีปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้อาการต่างๆ ที่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ดีขึ้นหลังจากรับประทานไปแล้ว 4 สัปดาห์และเมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่องไป 12 สัปดาห์ พบว่าอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก
- ข้อที่ 4 ด้านการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต โดยจากการศึกษาผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันจำนวน 60 คน พบว่าเมื่อรับประทานสารสกัดกล้วยในปริมาณ 40 mg 3 ครั้งต่อวัน ช่วยทำให้กลุ่มผู้ป่วยสามารถเดินได้ไกลมากยิ่งขึ้น
- ข้อ 5 ด้านการเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ถึงแม้ว่าการศึกษานี้ จะเกิดขึ้นในหนูทดลองก็ตาม แต่ผลการทดลองอยากบอกอย่างชัดเจนว่า เมื่อได้รับสารสกัดแปะก๊วยในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าสามารถเรียนรู้ได้เร็วมากยิ่งขึ้นและสามารถจดจำในสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น
- ข้อ 6 ด้านการช่วยให้ความจำดีขึ้น โดยการศึกษานี้ จะเป็นการสื่อสารในกลุ่มผู้ป่วยความจำเสื่อม จากความชราภาพโดยให้รับประทานสารสกัดแปะก๊วยในปริมาณ 120 - 240 mg ต่อวัน พบว่าผู้ป่วยมีการรับรู้ที่ดี และเมื่อผู้ป่วยได้รับประทานในปริมาณ 320 มิลลิกรัมต่อวันพบว่าผู้ป่วยมีความจำที่ดีขึ้น
- ส่วนข้อ 7 ข้อสุดท้าย เป็นด้านการเพิ่มการมองเห็น โดยการทดลองนี้ จะเป็นการทดลองในกลุ่มผู้ป่วย 2 กลุ่มด้วย
- กลุ่มแรก จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการจอตาเสื่อม โดยหลังจากที่รับประทานสารสกัดแปะก๊วยเข้าไป พบว่าความสามารถในการมองเห็นระยะยาวและความกว้างของการมองเห็นดีขึ้น
- กลุ่มที่ 2 จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการจอตาเสื่อม หลังจากที่เขาได้รับประทานสารสกัดแปะก๊วยไปแล้วในระยะเวลา 6 เดือนพบว่าการมองเห็นของเขาดีขึ้นอย่างชัดเจน
ซึ่งคุณสมบัติข้างต้นที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ได้ไปทำการค้นคว้างานวิจัยของในหลายประเทศมาอ้างอิงเพิ่มเติม มีหลายๆงานวิจัยที่ค่อนข้างน่าสนใจมากๆ อย่างในวารสารนานาชาติด้านการวิเคราะห์ทางเคมี และเภสัชกรรมของภาควิชาเภสัชของมหาวิทยาลัยการแพทย์โอมาน มัสกัต ได้ทำการรวบรวมงานวิจัยของในหลายประเทศ มาทำการทดลองผลการศึกษาและ หลักฐานของสารสกัดแปะก๊วยกับสุขภาพสมอง
โดยงานวิจัยนี้ได้ระบุว่า สารสกัดแปะก๊วยช่วยเสริมการทำงานของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ช่วยป้องกันและฟื้นฟูความจำที่เสื่อม ในผู้สูงอายุและช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าสมองเสื่อมและก็อาการวิงเวียนศีรษะบ้านหมุนโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของภาควิชาเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดแปะก๊วยในการรักษาภาวะสมองเสื่อม งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมผลการศึกษาทั้งหมด 298 งาน โดยใช้กลุ่มผู้ป่วยที่มาทำการทดลองและจำนวน 2381 คนพบว่าการรับประทานสารแปะก๊วยในปริมาณ 240 มิลลิกรัมต่อวันมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการรักษาภาวะสมองเสื่อมได้ภายใน 12-52 สัปดาห์
นอกจากนี้ยังได้มีการทบทวนงานวิจัยของศูนย์วิจัยการแพทย์ระดับโมเลกุลที่ประเทศอิหร่าน งานวิจัยนี้เป็นการตีพิมพ์ในวารสารของสถาบันโรค หู คอ จมูก นานาชาติฉบับที่ 21 ในหัวข้อเรื่องของการรับประทานสารสกัดแปะก๊วยในการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะหูอื้อพบว่าสารสกัดแปะก๊วย มีประสิทธิภาพในการรักษาหูอื้อเรื้อรัง โดยช่วยให้ออกซิเจนมีการไหลเวียนที่ดีมากยิ่งขึ้น ส่วนฟลาโวนอยด์จะเข้าไปกระตุ้นการซ่อมแซม ทั้งยังช่วยลดความรุนแรงของอาการหูอื้อได้ อีกทั้งจะเห็นผลได้ดีหากรับประทานร่วมกับยารักษาหูอื้อ
ถึงแม้ว่าแปะก๊วยจะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการรับประทานอยู่ ในส่วนของระวังในการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยก็คือ
- ห้ามรับประทานร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันปลา
- และการรับประทานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานๆ หรือการรับประทานต่อเนื่อง เกินกว่า 8 เดือน แนะนำให้หยุดรับประทานก่อน เพราะอาจจะส่งผลให้เส้นเลือดมีการขยายตัวมากเกินไป จนอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเราได้
- และถ้าจำเป็นที่จะต้องมีการรักษาด้วยการผ่าตัด แนะนำให้หยุดรับประทานก่อนที่จะเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือแจ้งกับแพทย์ผู้ดูแลโดยตรงได้เลย
หรือเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ก่อนที่จะตัดสินใจรับประทานผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตาม แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ประจำตัวหรือเภสัชผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อความปลอดภัย
สำหรับวันนี้ เชื่อว่าหลายๆคนน่าจะได้รับข้อมูลดีๆเกี่ยวกับเจ้าตัวแปะก๊วยเป็นมากพอสมควร ถ้ายังไงก็ฝากกดไลค์กดแชร์แล้วก็ฝาก Subscribe ด้วยนะคะ หรือถ้าใครอยากจะพูดคุยปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกับทางทีมเภสัชของเรา ก็สามารถเข้ามาติดตามก็กดทักเข้ามาในเพจและล่างนี้ได้เลย สำหรับวันนี้ขอขอบคุณมากเลย สวัสดีค่ะ