How to ดูแลสุขภาพในวิกฤต PM 2.5 ด้วยอาหารเสริม

2428 จำนวนผู้เข้าชม  | 

How to ดูแลสุขภาพในวิกฤต PM 2.5 ด้วยอาหารเสริม

How to ดูแลสุขภาพในวิกฤต PM 2.5 ด้วยอาหารเสริม

     ในช่วงเวลานี้ไม่มีอะไรเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพได้เท่ากับมลพิษ PM 2.5 เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วแต่ผลกระทบไม่เล็กตามขนาดของมัน เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วนี้มีขนาดตัวเพียงแค่ 2.5 ไมครอน หรือเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผม ทำให้แม้กระทั่งขนจมูกของเราเองก็ไม่สามารถกรองเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วนี้ได้ และเมื่อเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมของสารอนุมูลอิสระ เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะแพร่กระจายสู่ระบบทางเดินหายใจ จากหลอดลมเข้าสู่หลอดเลือด จากนั้นก็จะถูกลำเลียงไปยังอวัยวะต่าง ๆ ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอักเสบภายในร่างกาย และเป็นบ่อเกิดสำคัญของสารพัดโรคร้าย

     นอกจากนี้ทางกรมอนามัยโลก ได้ระบุไว้ว่า PM 2.5 เป็นสารกลุ่มที่ 1 ที่เป็นสารก่อมะเร็ง เป็น 1 ใน 8 ของสาเหตุที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และยังทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง อย่าง โรคหลอดเลือดสมอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง, โรคหัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็งปอด เป็นต้น นอกจากนี้ทางแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยยังได้ระบุว่า เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วที่มีขนาดเล็กนี้ ยังมีน้ำหนักที่เบาจนสามารถลอยตัวในอากาศได้ และยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังของเราได้โดยตรง และยังมีงานวิจัยถึงผลกระทบของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้พบว่า เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วสามารถส่งผลต่อผิวหนังโดยสามารถแบ่งระดับอาการออกได้ 2 ระยะคือ

     1. ระยะเฉียบพลัน เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นกำพร้า ทำให้เกิดการอักเสบ และระคายเคืองกับผิวหนังได้โดยตรง

     2. ระยะเรื้อรัง เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วเป็นอนุมูลอิสระที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ผิวหนัง ตั้งแต่กระบวนการสร้างเซลล์ ทำให้เซลล์ผิวเกิดภาวะความชรา จุดด่างดำ และลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังอีกด้วย

     ด้วยเหตุนี้การป้องกันภัยจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในตอนนี้ โดยมีเคล็ดลับการดูแลสุขภาพง่าย ๆ คือ พยายามอยู่ภายในอาคาร พร้อมเสริมด้วยเครื่องกรองอากาศมาเป็นตัวช่วยในการดักเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกนอกบ้าน ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรทาโลชั่นหรือครีม ใส่หน้ากากกรองฝุ่น สวมแว่นตา แต่งกายให้มิดชิด และงดการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อลดการรับเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยอีกว่า มีสารอาหารบางชนิดมีคุณสมบัติที่ช่วยต้านและลดความเป็นพิษของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้ได้ ได้แก่

     1. โค เอนไซน์ คิว 10 เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญในการสร้างพลังงานพื้นฐานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antiox idant) ที่มีประสิทธิภาพสูง คอยป้องกันสารอนุมูลอิสระที่จะเข้ามาภายในเซลล์ที่เป็นสาเหตุของโรคภัยต่าง ๆ

     2. วิตามิน C เป็นวิตามินที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และลดภาวะอาการอักเสบที่อาจเกิดจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว ดังนั้นแนะนำให้หาอาหารเสริมที่ให้ทั้งวิตามิน C และสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง และยังมี OPC ที่สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามิน C ถึง 20 เท่าและสูงกว่าวิตามิน E 50 เท่า

     3. เบต้า แคโรทีน มีส่วนช่วยให้การทำงานของปอดกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ที่ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสามารถพบได้ในสารสกัดจากมะเขือเทศนั่นเอง

     4. โอเมก้า 3 จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกในกลุ่มผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่อาศัยในแหล่งที่มีเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 พบว่า การได้รับน้ำมันปลา 2 กรัม/วัน ช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5ได้ ดังนั้นนอกจากการรับประทานปลาทะเล หรือปลาน้ำจืดแล้ว ลองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีคุณภาพมาเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤติของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้

     ถึงแม้ว่าตอนนี้การศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารกับเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 ยังไม่ได้มีจำนวนที่มากพอ แต่ก็ยังมีอีกหลายงานวิจัยที่กล่าวถึงสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันและเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้กลับมามีประสิทธิภาพ อย่างน้อยก็ทำให้ภายในร่างกายมีความสมดุลแข็งแรงมากเพียงพอ และพร้อมที่จะรับมือต่อภัยเงียบจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วอย่าง PM 2.5 นี้ได้

แหล่งอ้างอิงโดย

     1. บทความวิชาการ, “ฝุ่น PM 2.5 กับโรคสมอง”, เรืออากาศโท นายแพทย์กีรติกร ว่องไววาณิชย์, อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท, ศูนย์สมองและระบบประสาท, โรงพยาบาลกรุงเทพ

     2. บทความสุขภาพน่ารู้, “ฝุ่น PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง”, แพทย์หญิงจันทร์จิรา สวัสดิพงษ์, ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการประชาสัมพันธ์องค์กร, สถาบันโรคผิวหนัง, กรมการแพทย์

     3. ฝุ่นพิษ PM 2.5 เยียวยาด้วยอาหารรักษ์หัวใจ, ผศ.ดร ฉัตรนภา หัตถโกศล, ภาควิชาโภชนวิทยา, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้